หน้าที่แต่ละเดือนในฐานะบริษัท

Posted on Leave a comment

หน้าที่แต่ละเดือนในฐานะบริษัท     พอเป็นรูปแบบของบริษัท ก็จะมีหน้าที่และภาระผูกพันตามมา คือ จัดทำบัญชี และมีการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ยื่นส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ยื่นแบบ ภงด.1 เงินเดือน ค่าจ้าง สำหรับพนักงานประจำ ยื่นแบบ ภงด.3 ภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับบุคคลธรรมดา ที่ไม่ใช่พนักงานประจำ ยื่นประกันสังคม บริษัทที่ขึ้นทะเบียนนายจ้าง และมีพนักงานประจำ จะต้องนำส่งเงินสมทบประกันสังคม ด้วยแบบ สปส.1-10 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป   #บัญชี #นักทำบัญชี #สำนักงานบัญชี #สรรพากร #ภาษี #จดบริษัท ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ประหยัด มั่นใจในองค์กรของเรา…. #รับจดทะเบียนบริษัท #chonlateetexbiz #ชลธีบิสซิเนสกรุ๊ป #ให้มากกว่าที่คิด #Onestopservice #Teamwork […]

ทำบัญชี ประโยชน์ดีเกินคุ้ม

Posted on Leave a comment

ทำบัญชี ประโยชน์ดีเกินคุ้ม ปกติการประกอบธุรกิจใด ๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ทั้งในรูปห้างหุ้นส่วนจำกัดจดทะเบียน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด จำเป็นจะต้องทำบัญชีอยู่แล้วตาม พรบ. การบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายให้ถูกต้อง แต่เชื่อว่าผู้ประกอบการบางรายอาจจะคิดไม่ถึงว่าการทำบัญชีนั้นมีประโยชน์คุ้มค่าอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับองค์กรธุรกิจนั้น ๆ เอง รวมถึงบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการเงินด้วย   ประโยชน์ของการทำบัญชี   1. ช่วยให้ผู้ประกอบการได้ทราบถึงผลการดำเนินงานของกิจการ ตามรอบระยะเวลาหนึ่งว่ามีรายรับรายจ่าย มีกำไร-ขาดทุนมากน้อยแค่ไหน มีรายได้หลักรายได้รองเท่าไหร่ เพราะในกระบวนการทางด้านบัญชีนั้นจะต้องมีการวัดและการสรุปผลการดำเนินธุรกิจ 2. ทำให้ทราบถึงสถานะทางการเงินของกิจการ ทั้งในส่วนของทุนและหนี้สินที่เกิดขึ้น เป็นการรักษาสินทรัพย์ของบริษัท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการที่จะตัดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นเหล่านั้นออก 3. เป็นกลไกการตรวจสอบควบคุมภายในอย่างหนึ่ง ซึ่งครอบคลุมไปถึงการป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย 4. เป็นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการวางแผนหลาย ๆ ด้าน ทั้งการเงินการตลาดและการตัดสินใจขยายการลงทุนในอนาคต นอกจากนี้ยังใช้ในการวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็งขององค์กร ในการกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อให้กิจการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 5. เป็นเอกสารอย่างหนึ่งในการยื่นขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพราะผู้ให้กู้จะต้องทราบถึงฐานะทางการเงินของกิจการว่าสามารถที่จะชำระหนี้ได้หรือไม่อย่างไร อีกทั้งยังใช้เป็นข้อมูลสำหรับบุคคลภายนอกที่จะนำไปศึกษาวิจัย รวมไปถึงบรรดานักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือผู้ที่สนใจในการลงทุนซื้อหุ้นของบริษัท สรุปแล้วการทำบัญชีมีความสำคัญอย่างมากในการประกอบธุรกิจ หากไม่มีข้อมูลเหล่านี้จะทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างไม่รู้สภาพความเป็นจริง ยากต่อการบริหารจัดการให้ธุรกิจมีความก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้หากไม่ทำบัญชีถือว่าผิดกฎหมายและจะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมามากมาย อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งที่ผู้ประกอบการมักสอบถามผู้รู้ คือ […]

?ที่อยู่ของผู้เริ่มก่อการต่างชาติจะต้องระบุที่ใด ❓

Posted on Leave a comment

ที่อยู่ของผู้เริ่มก่อการต่างชาติจะต้องระบุที่ใด      กรณีที่มีถิ่นอยู่ในประเทศไทยให้ระบุที่อยู่ในประเทศไทย  กรณีที่มีถิ่นอยู่ในต่างประเทศให้ระบุที่อยู่ซึ่งสามารถติดต่อได้ในต่างประเทศ #บัญชี #นักทำบัญชี #สำนักงานบัญชี #สรรพากร #ภาษี #จดบริษัท ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ประหยัด มั่นใจในองค์กรของเรา…. #รับจดทะเบียนบริษัท #chonlateetexbiz #ชลธีบิสซิเนสกรุ๊ป #ให้มากกว่าที่คิด #Onestopservice #Teamwork #จดทะเบียนธุรกิจและนิติบุคคล #วางระบบและจัดทำบัญชี #งานบริการขอใบอนุญาต #บริการจัดทำภาษีทุกประเภท #บริการทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด สามารถติดต่อขอรายละเอียดและสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว Contact Chonlateetexbiz https://lin.ee/Nwvzm7A line@ : @239desce https://www.instagram.com/chonteelatexbiz/ https://Chonlateetexbiz.com E-mail : Chonlatee.techbiz@gmail.com 082-559-6995

ประกันสังคม ประโยชน์และขั้นตอนการยื่นสิทธิ ที่เจ้าของธุรกิจควรรู้

Posted on Leave a comment

อ่านสั้นๆ ประโยชน์ที่เจ้าของธุรกิจจะได้รับจากประกันสังคม หนึ่งในนั้นคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจ เมื่อพนักงานกำลังตัดสินใจเลือกเข้าทำงาน หากธุรกิจเรามีพนักงานตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียน 2 ชุดคือ 1. ขึ้นทะเบียนนายจ้าง ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยอัตโนมัติพร้อมการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลต่อกรมธุรกิจการค้า 2. ขึ้นทะเบียนลูกจ้างสำหรับจ่ายกองทุนประกันสังคมในครั้งแรก เมื่อมีพนักงานใหม่เข้าทำงานในบริษัท ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมภายใน 30 วัน ในแต่ละเดือนต้องนำส่งเงินประกันสังคมที่หักจากเงินเดือนพนักงาน พร้อมทั้งจ่ายสมทบเพิ่มให้กับพนักงาน และยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป   ต่อจากบทความ สิทธิประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่คนทำงานควรรู้และต้องได้รับ! ที่คนวัยทำงานควรจะต้องทราบกันไปแล้ว สำหรับบทความนี้จะมาพูดถึงในฝั่งของเจ้าของธุรกิจ ว่าควรจะต้องรู้อะไรเกี่ยวกับประกันสังคมกันบ้างค่ะ ประกันสังคม ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องทำให้พนักงาน สิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของธุรกิจและพนักงาน โดยเงินที่เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบให้กับพนักงานในแต่ละเดือนถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิตตลอดช่วงทำงาน จนไปถึงเกษียณอายุ ซึ่งประโยชน์ที่พนักงานได้รับมีถึง 8 เรื่องด้วยกัน คือ ค่าหมอ ค่ายา ค่าทำฟัน ยามเจ็บป่วย หรือเกิดอุบัติเหตุ ค่าเงินชดเชย กรณีทุพพลภาพ ค่าคลอดบุตร ค่านมลูก (เงินสงเคราะห์บุตร) ค่าใช้จ่ายยามตกงาน ค่าจัดงานกรณีเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายยามเกษียณ   และยังส่งผลดีต่อเจ้าของธุรกิจและภาพลักษณ์ของธุรกิจด้วยคือ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านความรับผิดชอบต่อชีวิตพนักงานของธุรกิจ […]

ข้อบังคับบริษัท ต้องมีหรือไม่

Posted on Leave a comment

บริษัทจำกัด จะจัดตั้งขึ้นโดยมี หรือ ไม่มี ข้อบังคับของบริษัท ก็ได้ (บริษัทมหาชนจำกัด จัดตั้งขึ้นจะต้องมี ข้อบังคับของบริษัท เสมอ ) บริษัทจำกัด ในการประชุมผู้ถือหุ้นในการจัดตั้งบริษัท จะต้องมีการพิจารณาตามระเบียบวาระที่กฎหมายกำหนด จะต้องพิจารณาเรื่องข้อบังคับของบริษัทด้วย จึงต้องไปดูในรายงานการประชุมที่เป็นเอกสารประกอบการขอจดทะเบียน ว่าที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งขึ้นโดยมีข้อบังคับของบริษัทหรือไม่ ถ้ามี แล้วไม่ได้ส่งข้อบังคับ บริษัทจะต้องชี้แจงขอส่งเอกสารเพิ่มเติม ถ้าในรายการจดทะเบียน แบบ บอจ.3 ขัดแย้งกับรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท บริษัทจะต้องทำหนังสือชี้แจงต่อนายทะเบียน เพื่อให้แก้ไขเอกสารทางทะเบียนให้ถูกต้องต่อไป โดยหลักนายทะเบียน จะต้องยึดถือรายงานการประชุมจัดตั้งบริษัทเป็นสำคัญ ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ประหยัด มั่นใจในองค์กรของเรา…. #รับจดทะเบียนบริษัท #chonlateetexbiz #ชลธีบิสซิเนสกรุ๊ป #ให้มากกว่าที่คิด #Onestopservice #Teamwork #จดทะเบียนธุรกิจและนิติบุคคล #วางระบบและจัดทำบัญชี #งานบริการขอใบอนุญาต #บริการจัดทำภาษีทุกประเภท #บริการทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด สามารถติดต่อขอรายละเอียดและสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว Contact Chonlateetexbiz https://lin.ee/Nwvzm7A line@ : […]

ข้อแตกต่างระหว่าง ภาษีการเงิน และ ภาษีอากร

Posted on Leave a comment

หลักเกณฑ์ที่ต้องคำนึงในการคำนวณกำไรสุทธิทางบัญชีและทางภาษี หลักบัญชี กฎเกณฑ์หลัก – แม่บทการบัญชี กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง – มาตรฐานการบัญชีและการตีความมาตรฐานการบัญชีแต่ละเรื่อง เกณฑ์ในการรับรู้อายได้และค่าใช้จ่าย – เกณฑ์คงค้าง เงื่อนไขหลัก เป็นไปตามนิยามและการรับรู้ รายได้ ค่าใช้จ่ายตามแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง รายได้ควรับรู้เมื่อ มีความแน่นอนที่ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ หรือการลดลงของหนี้สิน และสามารถวัดค่าของประโยชน์ เชิงเศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ ค่าใช้จ่ายควรรับรู้เมื่อ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตลดลง เนื่องจากการลดลงของสินทรัพย์หรือการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และสามารถวัดค่าของประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ค่าใช้จ่ายให้รับรู้ในงบกำไรขาดทุน โดยใช้เกณฑ์ความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ที่ได้มาจากรายการเดียวกัน เกณฑ์คงค้าง รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีจะรับรู้ เมื่อเกิดขึ้น มิใช่เมื่อมีการรับหรือจ่ายเงินสดหรือรายการเทียบเท่างินสด โดยรายการต่าง ๆ จะบันทึกบัญชีและแสดงในงบการเงินตามรอบระยะเวลาบัญชีที่เกี่ยวข้อง  หลักภาษี กฎเภณฑ์หลัก – ประมวลรัษฎากร กฎภูเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง – พระราชกฤษฎีกา ประกาศ/คำสั่งกฎกระทรวง คำวินิจฉัยฯ คำพิพากษา เกณฑ์ในการคำนาณรายได้และรายจ่าย – เกณฑ์สิทธิ (หรือเกณฑ์เงินสดเฉพาะกรณีอนุญาต) เงื่อนไขหลัก เป็นไปตามประมวลวัษฎากร ในการคำนวณรายได้รายจ่ายตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 65 และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ […]

วงจรบัญชี

Posted on Leave a comment

“วงจรบัญชี (Account cycle) หมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำบัญชี โดยเริ่มจากจดบันทึกรายการค้าต่างๆที่เกิดขึ้นลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) จากนั้นแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ต่างๆ และทำการปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด และทำการจัดทำงบทดลอง จากนั้นทำการปรับปรุงบัญชี เพื่อแสดงรายการทางการเงินได้ถูกต้องในงบการเงิน ตามรอบบัญชี เช่น 6 เดือนหรือ 1 ปี”   วงจรบัญชี ประกอบไปด้วย 1. การวิเคราะห์รายการค้า (Transaction Analysis) ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากของวงจรบัญชี คือการวิเคราะห์รายการค้าที่เกิดขึ้นในกิจการว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นส่งผลให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของของกิจการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2. การบันทึกรายการลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) (Journalizing Original Entries) เมื่อเราวิเคราะห์รายการค้าได้แล้วว่ารายการค้าที่เกิดขึ้นนั้นทำให้สินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเปลี่ยนแปลงอย่างไรแล้ว หลังจากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์รายการค้ามาบันทึกลงในสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) 3. การผ่านรายการจากสมุดบัญชีขั้นต้น (สมุดรายวัน) ไปยังสมุดบัญชีขั้นปลาย (สมุดบัญชีแยกประเภท) (Posting) เป็นการนำรายการค้าที่บันทึกไว้ในสมุดรายวันไปจำแนกแยกแยะบัญชีให้เป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีแยกประเภทบัญชีต่าง ๆ 4. การปรับปรุงบัญชีในวันสิ้นงวด (Adjusting Entries) เมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชีของกิจการ หากมีรายการค้าใดที่ได้บันทึกและผ่านรายการแล้วยังไม่ถูกต้อง เราจะต้องมาทำการปรับปรุงรายการ โดยบันทึกรายการปรับปรุงลงในสมุดรายวันเหมือนรายการค้าที่เกิดขึ้นใหม่แล้วผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภทเหมือนเดิม 5. การจัดทำงบการเงิน (Preparing Financial Statement) หลังจากปรับปรุงบัญชีให้ถูกต้องแล้ว ก็จะต้องนำยอดคงเหลือที่ถูกต้องของบัญชีต่าง ๆ มาจัดทำงบการเงิน […]

การจำหน่ายหนี้สูญ

Posted on Leave a comment

  “หนี้สูญ (Bad Deb) หมายถึง ลูกหนี้ที่ติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้เหล่านี้ และได้ตัดจำหน่ายออกจากบัญชี”   การจำหน่ายหนี้สูญ การจำหน่ายหนี้สูญ แบ่งได้ 3 กรณี 1.กรณีที่ 1 ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนไม่เกิน 200,000บาท 1.1 มีการทวงถามหนี้โดยทำเป็นหนังสือทวงถามหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และยังไม่ได้รับชำระหนี้ 1.2 มีหลักฐานการคำนวนค่าใช้จ่ายในการฟ้องที่แสดงว่าไม่คุ้มกับยอดหนี้ที่ได้รับชำระ 2. กรณีที่ 2 ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท 2.1 ติดตามทวงถามโดยมีหลักฐานและปรากฏลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ เพราะ ลูกหนี้เสียชีวิต , หายสาบสูญ และ ไม่มีทรัพย์สินในการชำระหนี้ ลูกหนี้เลิกกิจการและมีเจ้าหนี้รายอื่นมีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกค้าทั้งหมด อยู่ในลำดับก่อนเป็นจำนวนมากกว่าทรัพย์สินของลูกหนี้ 2.2 ต้องมีการฟ้องศาล กรณีมีการฟ้องร้องศาล บริษัทจะตัดหนี้สูญได้เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วและศาลมีคำสั่งรับคำขอรับขำระหนี้นั้นแล้ว กรณีลูกหนี้ถูกฟ้องล้มละลาย บริษัทจะตัดหนี้สูญได้เมื่อศาลมีคำสั่งรับคำฟ้องนั้นแล้วหรือยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่ลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้รายอื่นฟ้องหรือในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายและศาลมีคำสั่งรับคำขอรับขำระหนี้นั้นแล้ว  3. กรณีที่ 3 ลูกหนี้แต่ละรายมีจำนวนเกิน 2,000,000 […]

รายจ่ายต้องห้ามคืออะไร?

Posted on Leave a comment

“ประเด็นภายในอาชีพนักบัญชีนั้นมีมากมายเต็มไปหมด นักบัญชีกี่ปีก็ไม่พอจริงๆ วันนี้เลยมายกทริคที่ย่อยง่ายๆแต่ความรู้เต็มอิ่มแน่นอน แถมยังมีประโยชน์มากเลยที่เดียว โดยการเปลี่ยน “รายจ่ายต้องห้าม” ให้สามารถใช้เป็น ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรยอมรับ มาแนะนำกัน”  รายจ่ายต้องห้าม คืออะไร?   “รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคล และได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ขอบเขตรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร” หรือให้เข้าใจแบบง่าย รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้ ยกตัวอย่างรายจ่าย ดังนี้ – รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว ไม่เป็นไปตามระเบียบของกิจการ – รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง – รายจ่ายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ – รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม รายจ่ายค่าปรับ ค่ารับรอง ค่าใช้จ่ายส่วนที่นำใช้คำนวณเพื่อหักภาษีได้ 1. ค่าศึกษา/อบรมพนักงาน  มีใบเสร็จรับเงินถูกต้องสมบูรณ์และจ่ายเพื่อพัฒนาองค์กร รายจ่ายที่เกิดจากการที่กิจการได้จ่ายเพื่อส่งให้พนักงานเข้ารับการศึกษาหรืออบรม หากมีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรม รวมถึงพนักงานที่ฝึกอบรมต้องกลับมาทำงานเพื่อสร้างประโยชน์พัฒนาองค์กรต่อไป รายจ่ายลักษณะนี้ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม และยังนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า โดยการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) In-house Training โดยบริษัทเป็นผู้จัดฝึกอบรมขึ้นเอง หรือจ้างบริษัทฝึกอบรมสัมมนาเข้ามาจัดฝึกอบรมให้ 2) Public Training โดยส่งพนักงานไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา) หากรายจ่ายการส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ […]

บุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?

Posted on Leave a comment

บุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่? “เคยสงสัยกันไหมว่า ชาวต่างชาติที่มาใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเรา ทั้งเป็นนักท่องเที่ยวชั่วคราว ท่องเที่ยวแรมปี แม้กระทั่งชาวต่างชาติที่ตัดสินใจอยู่ที่ประเทศไทยเลย เขาจะเสียภาษีกันบ้างไหม หรือ ไม่ได้เป็นประชากรประเทศเราเลยไม่ต้องจ่าย วันนี้เราหยิบประเด็นนี้มาตอบกันเลยดีกว่า ”  ประเด็นแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า ภายในประเทศมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้หลักแหล่ง เงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสรุปได้ดังนี้ หลักแหล่งเงินได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ คือ 1. เงินได้จากงานที่ทําในประเทศไทย 2. เงินได้จากกิจการที่ทําในประเทศไทย 3. เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย 4. เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย แล้วบุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่? หากชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในเมืองไทยไม่ถึง 180 วันในปีภาษีนั้น ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากกรณีนี้เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่า บ้าน เป็นต้น ดังนั้น บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติหากมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ ผู้มีเงินได้นั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายใน หรือนอกประเทศ และจะได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม กฎหมายบังคับให้จัดเก็บภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสําหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นนั้น เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข […]