จดบริษัทต้องมีทุนจดทะเบียนเท่าไหร่ ?

Posted on Leave a comment

จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ ไม่มีเงินสักบาทจดบริษัทได้หรือไม่ ? หากจะเริ่มก่อตั้งบริษัท หรือ จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ แล้วถ้าหากไม่มีเงินสักบาทจดบริษัทได้หรือไม่ คำตอบแบบสั้นๆ ก็คือ “ได้ค่ะ” หาก “กำไร” คือหัวใจของการทำบริษัท ส่วน “ทุน” จะถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงบริษัทก็คงไม่ผิดนัก ซึ่ง “ทุน” ในที่นี่หมายถึง ทุนจดทะเบียนบริษัท หรือเงินที่ผู้ก่อตั้งบริษัททั้งหมดตกลงกันว่าจดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ในการลงทุนก้อนแรก เพื่อเริ่มดำเนินกิจการ รวมถึงต้องแจ้งข้อมูลไว้ตอนจดทะเบียนบริษัท โดยตัวเลขของทุนจดทะเบียนดังกล่าวก็จะมีปรากฏอยู่บนหนังสือรับรองบริษัทของเราด้วย นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า บริษัทมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ยิ่งทุนจดทะเบียนสูงความน่าเชื่อถือก็สูงตามไปด้วย ณ วัน จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ โดยปกติเมื่อกิจการตัดสินใจเปิดบริษัท ส่วนใหญ่จะนิยมใช้บริการสำนักงานบัญชีให้ช่วยดำเนินการประสานงานให้ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ทำให้ทุกขั้นตอนรวมถึงเรื่องเงินทุนง่ายขึ้น ซึ่งตอนยื่นขอจดบริษัทนั้น ทางกรมพัฒน์ไม่ได้ใจร้ายถึงขนาดที่ว่า เราต้องมีทุนจริงเท่ากับทุนจดทะเบียนที่ตั้งไว้ตั้งแต่วันแรก แต่จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ จะมีกำหนดไว้ว่า ณ วันจัดตั้งบริษัทต้องชำระเงินทุนเข้ามาในบริษัท เบื้องต้นอย่างน้อย 25% ของทุนทั้งหมด สมมุติแจ้งทุนจดทะเบียนไว้ 1,000,000 บาท ก็ต้องชำระค่าหุ้นขั้นต่ำ 25% เป็นจำนวนเงิน 250,000 บาท จดบริษัทใช้เงินเท่าไหร่ ถ้าไม่มีเงินสักบาทจดบริษัทได้หรือไม่ เวลาที่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสาร จะไม่ได้มีการเช็กเงินสด หรือเงินฝากธนาคารที่ชำระทุนเข้าบริษัทจริง […]

จดบริษัทต้องใช้ผู้ก่อตั้งกี่คน ?

Posted on Leave a comment

จดบริษัทต้องใช้ผู้ก่อตั้งกี่คน ?   1. ผู้ร่วมก่อการ 3 คน จัดตั้งบริษัท ◾ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน 2. ประชุมจัดตั้งบริษัท ◾ผู้ก่อการต้องออกหนังสือนัดประชุมให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุมจัดตั้งบริษัท โดยการจัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัท ◾องค์ประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหมดและนับจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด ◾วาระการประชุม (1) ทำความตกลงตั้งข้อบังคับของบริษัท (2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการต้องจ่ายในการเริ่มก่อตั้งบริษัท (3) กำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ (ถ้ามี) 3. มอบกิจการแก่กรรมการ ◾เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป 4. เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นและใช้ค่าหุ้น ◾กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น จากนั้น กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ประหยัด มั่นใจในองค์กรของเรา…. […]

จดทะเบียนบริษัท ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง ?

Posted on Leave a comment

สำหรับผู้ที่ต้องการ จดทะเบียนบริษัท เมื่อคุณ จองชื่อบริษัท เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ คุณต้องเตรียมเอกสารเพื่อไปยื่น จดทะเบียนบริษัท กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดังต่อไปนี้นะคะ (เอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ คุณสามารถเข้าไปดาวน์โหลดมาเตรียมไว้ก่อน ได้ที่ www.dbd.go.th ค่ะ)   บอจ.1 — แบบ บอจ.1 คือ หน้าหนังสือรับรอง นั่นเอง จะมีความพิเศษในการพิมพ์ออกมา คือ คุณต้องพิมพ์หน้าหลัง บอจ.2 — แบบ บอจ.2 มี 2 หน้า สำหรับแบบฟอร์มนี้ คือ บริคณห์สนธิ นั่นเอง ในเอกสารนี้จะประกอบไปด้วย ชื่อบริษัท และรายชื่อผู้ร่วมก่อการ (ภาษาทางการเขาว่างั้น จริง ๆ ก็คือผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทนั่นเองคะ) กรอกข้อมูลผู้เริ่มก่อการทุกคนให้ครบถ้วน แล้วพิมพ์ออกมาเพื่อให้ผู้เริ่มก่อการเซ็นต์คะ ส่วนหน้า 2 เป็นรายละเอียดของคนเซ็นต์ รับรองลายมือชื่อ ก็ให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและให้คนรับรองเซ็นต์จ้า บอจ.3 — แบบ บอจ.3 คือ แบบรายการจดทะเบียนจัดตั้ง มีทั้งหมด […]

จดทะเบียนบริษัทที่ไหนได้บ้าง ?

Posted on Leave a comment

? จดทะเบียนบริษัทที่ไหนได้บ้าง ?   พร้อมแล้ว! ที่จะเป็นผู้ประกอบการมือใหม่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้อง จดทะเบียนบริษัทที่ไหนก็จะยังเป็นผู้ประกอบการที่พร้อมเติบโตไม่ได้ !! ก่อนที่จะเดินทางไปสู่ความสำเร็จลองหันมามองที่จุดเริ่มต้นสักนิด เพื่อที่จะไม่เสียเวลาในการในดำเนินธุรกิจโดยการเริ่มต้นให้ถูกต้อง   จดทะเบียนบริษัทที่ไหนได้บ้างอยากมีบริษัทไม่รู้ไม่ได้ ในปัจจุบันถือว่ามีความสะดวกมาก ๆ สำหรับผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจ ที่กำลังจะเริ่มจดทะเบียนบริษัทเพราะสามารถจดทะเบียนบริษัทที่ไหนก็ได้ ผ่านช่องทางที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือแม้กระทั่งจดผ่านระบบออนไลน์ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยมีทั้งหมด 6 เขต ดังต่อไปนี้ 1. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1(ปิ่นเกล้า) 2. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 2(พหลโยธิน) 3. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 3(รัชดาภิเษก) 4. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 4(สุรวงศ์) 5. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 5(ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค) 6. สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 6(ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในกรุงเทพมหานครก็ยังสามารถไปจดทะเบียนบริษัทได้ที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ได้ในทุก ๆ จังหวัดและไม่จำเป็นที่จะต้องจดในจังหวัดที่ตั้งของสำนักงานแต่อย่างใด เช่นสำนักงานอยู่ที่ เชียงใหม่ แต่เมื่อมาทำงานนอกสถานที่หรือมีความจำเป็นที่จะจดในต่างจังหวัดก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ไม่มีข้อจำกัดใด ๆ […]

การประชุมสามัญ และการประชุมวิสามัญคืออะไร

Posted on Leave a comment

การประชุมสามัญ และการประชุมวิสามัญคืออะไร การประชุมสามัญและการประชุมวิสามัญ คือ การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นนั่นเอง แต่มีความแตกต่างกันดังนี้ การประชุมสามัญ มี 2 กรณี คือ (1) การประชุมสามัญครั้งแรก เป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะต้องจัดให้มีขึ้นภายใน 6 เดือนนับแต่วันจดทะเบียนบริษัท (2) การประชุมสามัญครั้งต่อๆไป เป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นหลังจากที่ได้มีการประชุมสามัญครั้งแรกไปแล้ว โดยกำหนดให้มีการประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกระยะเวลา 12 เดือน การประชุมวิสามัญ เป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นครั้งอื่นๆ นอกจากที่เป็นการประชุมสามัญ โดยปกติการประชุมวิสามัญก็เพราะมีเรื่องจำเป็นและเป็นเรื่องที่ กม. หรือข้อบังคับกำหนดให้ต้องนำเสนอที่ประชุมใหญ่พิจารณา การประชุมวิสามัญ เป็นการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นครั้งอื่นๆ นอกจากที่เป็นการประชุมสามัญ โดยปกติการประชุมวิสามัญก็เพราะมีเรื่องจำเป็นและเป็นเรื่องที่ กม. หรือข้อบังคับกำหนดให้ต้องนำเสนอที่ประชุมใหญ่พิจารณา ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ประหยัด มั่นใจในองค์กรของเรา…. #รับจดทะเบียนบริษัท #chonlateetexbiz #ชลธีบิสซิเนสกรุ๊ป #ให้มากกว่าที่คิด #Onestopservice #Teamwork #จดทะเบียนธุรกิจและนิติบุคคล #วางระบบและจัดทำบัญชี #งานบริการขอใบอนุญาต #บริการจัดทำภาษีทุกประเภท #บริการทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด […]

รับจดทะเบียนบริษัทจำกัด / ห้างหุ้นส่วน

Posted on Leave a comment

จดทะเบียนบริษัท ต้องเตรียม เอกสาร อะไรบ้าง ? (ที่ไม่ใช่ฟอร์ม จดทะเบียนนิติบุคคล) เอกสารที่ต้องใช้ในการ จดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน จะต้องใช้แตกต่างกันแล้วแต่กรณี โดยจะ แบ่งได้ 3 กรณีหลักๆ ต่อไปนี้ 1. กรณีทั่วไป (หุ้นส่วนคนไทยหมด + ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้าน)      1.1 สำเนาบัตรประชาชน ของหุ้นส่วน ทุกท่าน พร้อม เซ็นต์รับรองสำเนา อย่างละ 1 ฉบับ กรณี จดทะเบียนบริษัท > ต้องใช้หุ้นส่วน 3 คนขึ้นไป กรณี จดทะเบียนหจก. > ต้องใช้หุ้นส่วน 2 คนขึ้นไป      1.2 สำเนาทะเบียนบ้าน หน้าแรก เฉพาะของสถานที่ตั้ง พร้อม เซ็นต์รับรองสำเนา จำนวน 1 […]

การลดหย่อนภาษี คืออะไร❓คำนวณรายได้ยังไง ❓

Posted on Leave a comment

การลดหย่อนภาษี คืออะไร❓คำนวณรายได้ยังไง ❓ ? สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท ? การลดหย่อนภาษี คือ รายการค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สรรพากรประกาศให้นำมาหักลบกับรายได้ เพื่อให้เราคำนวณ รายได้สุทธิ ออกมา และนำไปเปรียบเทียบคิดภาษีกับตารางอัตราภาษี หรือที่เรียกว่า การคำนวณภาษีแบบขั้นบันใด ?มีค่าใช้จ่ายอะไรที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้บ้างมาดูกันค่ะ 1. กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว 2. กลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน 3. กลุ่มลดหย่อนเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ 4. กลุ่มเงินบริจาค 5. กลุ่มค่าลดหย่อนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ เงินได้สุทธิต่อปี อัตราภาษี 1. กลุ่มค่าลดหย่อนส่วนตัวและครอบครัว ค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท ค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 – 60,000 บาท ค่าลดหย่อนบิดา – มารดา คนละ 30,000 บาท ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ คนละ […]

เจาะลึกในเรื่องของภาษีขายของออนไลน์ สำหรับร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทจำกัด

Posted on Leave a comment

เราจะมาเจาะลึกในเรื่องของภาษีขายของออนไลน์ สำหรับร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทจำกัด กันค่ะ ทบทวนกันอีกที ภาษีหลัก ๆ ของการขายของออนไลน์จะมีอยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือ 1. ภาษีเงินได้ ซึ่งก็คือภาษีที่เก็บจากผู้มีรายได้ ภาษีประเภทนี้จะแบ่งออกเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเราได้อธิบายอยากละเอียดไปในบทความที่แล้ว หรือสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้เลย ที่นี่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งก็คือภาษีเงินได้ที่เก็บจากนิติบุคคลประเภทต่างๆ ซึ่งกรณีของการขายของออนไลน์ นิติบุคคลก็มักจะเป็น ห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัทจำกัด นั่นเองค่ะ 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่เก็บจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ซึ่งอัตราจะอยู่ที่ 7% ของราคาสินค้า โดยผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายรับเกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้นิติบุคคลนี้สำหรับบริษัท และ ห้างหุ้นส่วน จะต้องเสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งก็คือ รายได้ หัก ค่าใช้จ่าย โดยค่าใช้จ่ายที่นำมาหักจากรายได้ได้จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดด้วยนะคะ ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทุกรายการจะนำมาหักกับรายได้ได้นั่นเองค่ะ อัตราภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคล […]

เจาะลึกในการขายของออนไลน์ในลักษณะของบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท ร้านค้าออนไลน์

Posted on Leave a comment

คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในปัจจุบันนี้การขายของออนไลน์กลายเป็นอาชีพที่ทำเงินได้ดี และ ทำกันอย่างแพร่หลาย เพราะการขายของออนไลน์นั้น ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน แถมยังทำควบคู่ไปกับงานประจำได้อีกด้วย เมื่อการขายของออนไลน์เป็นที่นิยมขึ้นมา บวกกับความสามารถในการสร้างรายได้นั้นเพิ่มขึ้น แม่ค้า พ่อค้าร้านออนไลน์ ก็ต้องถูกเพ่งเล็งจากกรมสรรพากรเป็นธรรมดา เพราะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็มีหน้าที่ในการเสียภาษีด้วยเช่นกัน ดังนั้น เราจะมาสรุปภาษีร้านค้าออนไลน์กันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง และ คำนวณอย่างไรบ้าง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การขายของออนไลน์ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกในการขายของออนไลน์ในลักษณะของบุคคลธรรมดา ไม่ได้มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท ร้านค้าออนไลน์เหล่านี้จึงจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเภทที่ 8 เงินได้จากการค้าขาย ซึ่งจะต้องยื่นภาษี 2 ช่วงเวลาต่อปี ดังนี้ค่ะ ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ยืนภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 เหลือ 15,000 […]

หน้าที่ของนิติบุคคลที่ควรทราบ !

Posted on Leave a comment

หน้าที่ของผู้ประกอบการ หลังจากที่จดจัดตั้งบริษัทจำกัด / ห้างหุ้นส่วนจำกัด เรียบร้อย จะต้องเตรียมตัวอย่างไร จัดทำบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีสินค้าและ บัญชีอื่นตามความจำเป็น แก่การทำบัญชี ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 โดยเริ่มตั้งแต่วันที่จดทะเบียนบริษัท จัดให้มี”ผู้ทำบัญชี” เพื่อรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วน/บริษัท ซึ่งอาจจะเป็นพนักงานของบริษัท ผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ หรือ สำนักงานบัญชี โดยต้องมีคุณวุฒิ ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี ซึ่งจะต้องจัดทำบัญชีให้ตรงตามความเป็นจริง และเป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และต้องขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี ต้องส่งมอบเอกสารที่ใช้ประกอบการลงบัญชี เช่น เอกสารบัญชีที่ออกในนามบริษัท/ห้างหุ้นส่วน หรือ เอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการบัญชี ให้กับผู้ทำบัญชีอย่างครบถ้วน เพื่อให้บัญชีที่จัดทำ สามารถแสดงผลการดำเนินงานฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามตวามเป็นจริงและตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ต้องมีการปิดบัญชี และจัดทำงบการเงิน ประกอบด้วย งบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ หมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน โดยงบการเงินต้องได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นจากผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาต จัดส่งงบการเงินที่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) และกรมสรรพากร ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี ต้องจัดทำภาษี และ […]