บริษัทฯ ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งจะต้องรับผิดอะไรบ้าง ?

Posted on Leave a comment

บริษัทฯ ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งจะต้องรับผิดอะไรบ้าง ?   คำถาม บริษัทฯ ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งจะต้องรับผิดอะไรบ้าง ? คำตอบ ความรับผิดมีดังนี้ 1. รับผิดในจำนวนภาษีที่ต้องหักนำส่ง 2. รับผิดในเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน โดยคำนวณจากจำนวนภาษีที่ต้องนำส่งตาม 3. หากไม่ได้ยื่นแบบนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้เลย ไม่ใช่ยื่นไว้ไม่ครบถ้วนต้องเสียค่าปรับทางอาญาอีกส่วนหนึ่ง ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย ความรับผิดของผู้จ่ายเงินได้ เมื่อมิได้หักภาษี ณ ที่จ่าย การหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นวิธีการจัดเก็บภาษีล่วงหน้าอย่างหนึ่ง โดยกำหนดให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่ตนจ่ายให้แก่ผู้รับทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด แล้วจึงนำเงินนั้นส่งรัฐ เงินภาษีที่ได้หักและนำส่งถือเป็นเครดิตภาษีที่ผู้มีเงินได้สามารถนำไปใช้เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นรายการเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นภาษีกลางปีหรือสิ้นปีมีผลเท่ากับว่าเสียล่วงหน้าไปแล้ว ก็มีสิทธินำมาเครดิตทันทีเพื่อยื่นรายการ และถ้าปรากฏว่าภาษีที่หักไว้สูงกว่าภาษีที่ต้องชำระเมื่อยื่นรายการ ผู้มีเงินได้มีสิทธิขอคืน แต่ถ้าภาษีที่หักไว้ต่ำกว่าภาษีที่ต้องชำระก็ต้องชำระภาษีเพิ่มเติม นอกจากนี้ การหักภาษี ณ ที่จ่าย ยังทำให้เกิดสิทธิที่จะไม่ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้ตอนสิ้นปี เช่น กรณีดอกเบี้ย […]

รายจ่ายต้องห้ามคืออะไร?

Posted on Leave a comment

“ประเด็นภายในอาชีพนักบัญชีนั้นมีมากมายเต็มไปหมด นักบัญชีกี่ปีก็ไม่พอจริงๆ วันนี้เลยมายกทริคที่ย่อยง่ายๆแต่ความรู้เต็มอิ่มแน่นอน แถมยังมีประโยชน์มากเลยที่เดียว โดยการเปลี่ยน “รายจ่ายต้องห้าม” ให้สามารถใช้เป็น ค่าใช้จ่ายที่สรรพากรยอมรับ มาแนะนำกัน”  รายจ่ายต้องห้าม คืออะไร?   “รายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการของนิติบุคคล และได้มีการบันทึกบัญชีเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่เกิดรายการ แต่ในทางภาษีไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ขอบเขตรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กำหนดไว้ตามประมวลรัษฎากร” หรือให้เข้าใจแบบง่าย รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้ ยกตัวอย่างรายจ่าย ดังนี้ – รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัว ไม่เป็นไปตามระเบียบของกิจการ – รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง – รายจ่ายที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ – รายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม รายจ่ายค่าปรับ ค่ารับรอง ค่าใช้จ่ายส่วนที่นำใช้คำนวณเพื่อหักภาษีได้ 1. ค่าศึกษา/อบรมพนักงาน  มีใบเสร็จรับเงินถูกต้องสมบูรณ์และจ่ายเพื่อพัฒนาองค์กร รายจ่ายที่เกิดจากการที่กิจการได้จ่ายเพื่อส่งให้พนักงานเข้ารับการศึกษาหรืออบรม หากมีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรม รวมถึงพนักงานที่ฝึกอบรมต้องกลับมาทำงานเพื่อสร้างประโยชน์พัฒนาองค์กรต่อไป รายจ่ายลักษณะนี้ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม และยังนำมาหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า โดยการฝึกอบรมแบ่งเป็น 2 กรณี คือ 1) In-house Training โดยบริษัทเป็นผู้จัดฝึกอบรมขึ้นเอง หรือจ้างบริษัทฝึกอบรมสัมมนาเข้ามาจัดฝึกอบรมให้ 2) Public Training โดยส่งพนักงานไปรับการฝึกกับบริษัทฝึกอบรมสัมมนา สถานศึกษา หรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา) หากรายจ่ายการส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ […]

บุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?

Posted on Leave a comment

บุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่? “เคยสงสัยกันไหมว่า ชาวต่างชาติที่มาใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเรา ทั้งเป็นนักท่องเที่ยวชั่วคราว ท่องเที่ยวแรมปี แม้กระทั่งชาวต่างชาติที่ตัดสินใจอยู่ที่ประเทศไทยเลย เขาจะเสียภาษีกันบ้างไหม หรือ ไม่ได้เป็นประชากรประเทศเราเลยไม่ต้องจ่าย วันนี้เราหยิบประเด็นนี้มาตอบกันเลยดีกว่า ”  ประเด็นแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า ภายในประเทศมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้หลักแหล่ง เงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสรุปได้ดังนี้ หลักแหล่งเงินได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ คือ 1. เงินได้จากงานที่ทําในประเทศไทย 2. เงินได้จากกิจการที่ทําในประเทศไทย 3. เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย 4. เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย แล้วบุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่? หากชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในเมืองไทยไม่ถึง 180 วันในปีภาษีนั้น ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากกรณีนี้เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่า บ้าน เป็นต้น ดังนั้น บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติหากมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ ผู้มีเงินได้นั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายใน หรือนอกประเทศ และจะได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม กฎหมายบังคับให้จัดเก็บภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสําหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นนั้น เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข […]

สาเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจเลือกจัดตั้งบริษัทจำกัด

Posted on Leave a comment

สาเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจเลือกจัดตั้งบริษัทจำกัด สาเหตุที่ผู้ประกอบธุรกิจเลือกจัดตั้งบริษัทจำกัดแทนการเลือกใช้รูปแบบองค์กรธุรกิจรูปแบบอื่น อาจด้วยเนื่องจาก บริษัทจำกัดจะเสียภาษีเงินได้ของกิจการในรูปแบบของภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งมีอัตราภาษีที่คงที่ และได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของนิติบุคคล บริษัทจำกัดมีภาระหน้าที่ในการจัดทำบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประมวลรัษฎากร บริษัทจำกัดมีการแบ่งแยกความรับผิดของบริษัทจากผู้ถือหุ้น (ผู้เป็นเจ้าของบริษัท) อย่างชัดเจน โดยที่ผู้ถือหุ้นจะมีหน้าที่ความรับผิดเพียงค่าหุ้นของบริษัทตามจำนวนที่ตนถือเท่านั้น บริษัทจำกัดจะมีภาระหน้าที่การปฏิบัติตามกฎหมาย หรือกระบวนการในการบริการจัดการงานของบริษัทที่ซับซ้อนกว่าองค์กรธุรกิจรูปแบบอื่น เนื่องจากมีผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ที่มีส่วนได้เสียที่มากกว่า ด้วยเหตุเดียวกันนี้ บริษัทจำกัดจึงมีความน่าเชื่อถือ ความสามารถและทางเลือกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มากกว่าองค์กรธุรกิจรูปแบบอื่น ผู้เป็นผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทอาจโอนหุ้นของตนให้แก่บุคคลอื่นเพื่อขายหรือให้สิทธิความเป็นเจ้าของบริษัทหรือกิจการนั้นได้ ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลงผู้เป็นเจ้าของกิจการมากกว่าห้างหุ้นส่วนหรือกิจการที่มีเจ้าของรายเดียว ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ประหยัด มั่นใจในองค์กรของเรา…. #รับจดทะเบียนบริษัท #chonlateetexbiz #ชลธีบิสซิเนสกรุ๊ป #ให้มากกว่าที่คิด #Onestopservice #Teamwork #จดทะเบียนธุรกิจและนิติบุคคล #วางระบบและจัดทำบัญชี #งานบริการขอใบอนุญาต #บริการจัดทำภาษีทุกประเภท #บริการทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด สามารถติดต่อขอรายละเอียดและสอบถามข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว Contact Chonlateetexbiz https://lin.ee/Nwvzm7A line@ : @239desce https://www.instagram.com/chonteelatexbiz/ https://Chonlateetexbiz.com E-mail : Chonlatee.techbiz@gmail.com 082-559-6995

รายได้ประเภทใดต้องยื่น ภ.ง.ด. 1ก

Posted on Leave a comment

รายได้ประเภทใดต้องยื่น ภ.ง.ด. 1ก แบบ ภ.ง.ด. 1ก คือ แบบสรุปการจ่ายเงินได้และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตลอดทั้งปี จากการจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40(1)(2) เช่น เงินเดือน โบนัส ค่านายหน้า ค่าเบี้ยประชุม เป็นต้น โดยกรมสรรพากรกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้จะต้องสรุปข้อมูลส่งกรมสรรพากรปีละ 1 ครั้ง ไม่เกินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปี   สำหรับสาเหตุที่กรมสรรพากรให้ผู้จ่ายเงินได้ต้องสรุปข้อมูลการจ่ายเงินได้มาตรา 40(1)(2) ให้กับกรมสรรพากรทุกปีนั้น เนื่องจากเงินได้มาตรา 40(1)(2) จะคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า ซึ่งถ้าบุคคลธรรมดามีรายได้ไม่ถึง 310,000 บาทต่อปี จะไม่โดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ทำให้กรมสรรพากรไม่มีข้อมูลเงินได้ของผู้เสียภาษีในระบบกรมสรรพากร กรมสรรพากรเลยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จ่ายเงินได้มาตรา 40(1)(2) จะต้องทำสรุปข้อมูลการจ่ายเงินได้ปีละ 1 ครั้งส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด.1ก #บัญชี #นักทำบัญชี #สำนักงานบัญชี #สรรพากร #ภาษี ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก […]

3 เหตุผล ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.

Posted on Leave a comment

3 เหตุผล ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. “การยื่นภาษีเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ทุกคน ควรจะพึงทำอยู่แล้ว แต่ถ้าหากอยากรู้เหตุผลในการยื่น จะยกตัวอย่างใน การยื่นภาษีแบบภ.ง.ด ว่าเหตุผลในการยื่นคืออย่างไร ทำไมต้องยื่นมาให้เห็นแบบเข้าใจง่ายกัน” 3 เหตุผล ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะสำหรับพลเมืองดีที่ได้ยื่นแบบโดยถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ไม่มีการหลีกเลี่ยงหรือหนี เป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความโปร่งใสและความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ สังเกตได้ว่าหลายๆ หน่วยงานใช้การยื่นแบบเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความสุจริต โปร่งใส เป็นเครื่องหมายของผู้ที่มีความกตัญญูต่อแผ่นดินที่ได้อาศัยอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข มีสัมมาอาชีพที่สุจริตอันจะนำไปสู่ความสุขที่แท้จริง เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. และชำระภาษีเงินได้ให้ถูกต้องครบถ้วน ก่อให้เกิดรายได้ของประเทศที่จะกระจายไปสู่ผู้ที่ด้อยโอกาส มีส่วนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้า ในทางตรงกันข้ามการไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมาย อาจต้องรับโทษทั้งทางแพ่งคือเบี้ยปรับเงินเพิ่ม และทางอาญาคือค่าปรับทางอาญาและโทษจำคุก ———————————————————————– #ยินดีให้คำปรึกษา “จบทุกปัญหาเพียงแค่ปรึกษาเรา” สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน ประหยัด มั่นใจในองค์กรของเรา…. #รับจดทะเบียนบริษัท #chonlateetexbiz #ชลธีบิสซิเนสกรุ๊ป #ให้มากกว่าที่คิด #Onestopservice #Teamwork #จดทะเบียนธุรกิจและนิติบุคคล #วางระบบและจัดทำบัญชี #งานบริการขอใบอนุญาต #บริการจัดทำภาษีทุกประเภท #บริการทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด […]

ภาษีซื้อ จากการซื้อของมาเพื่อเป็นของแถมให้กับลูกค้า

Posted on Leave a comment

ภาษีซื้อ จากการซื้อของมาเพื่อเป็นของแถมให้กับลูกค้า   “การซื้อของแถมมาแจกให้ลูกค้า เป็นประเด็นโต้แย้งและสร้างความไม่เข้าใจให้กับผู้ประกอบการในหลายๆครั้ง ว่าแท้ที่จริงแล้ว ชองแถมสามารถหักภาษีซื้อได้ไหม จึงยกตัวอย่างเคสมาให้พิจารณาดังนี้ “ เจ้าพนักงานประเมินได้เข้าตรวจการขอเครดิตภาษีซื้อของผู้ประกอบการจดทะเบียนรายหนึ่ง  และพบประเด็นโต้แย้งเกี่ยวกับ ภาษีซื้อของสิ่งที่ผู้ประกอบการซื้อมาเพื่อมาเป็นของแถมให้ลูกค้า  ประเด็นคือผู้ประกอบการ นำภาษีซื้อจากการซื้อของมาเพื่อเป็นของแถมให้กับลูกค้า มาหักออกจากภาษีขาย เจ้าพนักงานฯเห็นว่าจะนำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขายไม่ได้ เพราะเมื่อนำสิ่งของแถมไปพร้อมกับการขายสินค้าหรือให้บริการ ของแถมดังกล่าวนั้นไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงไม่สามารถนำภาษีซื้อจากการซื้อสิ่งของมาแถมไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้    ข้อเท็จจริง ตามกฎหมาย การที่ผู้ประกอบการฯ ไปซื้อสิ่งของมาเพื่อแถมจากผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่น จะถูกผู้ขายเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น ค่าสิ่งของ 10,000 บาท ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม 700 บาท แต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม 700 บาทก็ถือเป็นภาษีซื้อของผู้ประกอบการฯ ที่ซื้อสิ่งของนั้นมาเพื่อเป็นของแถม โดยปกติภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการมาใช้ในการประกอบกิจการ ผู้ประกอบการสามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ตามมาตรา 82/3 เว้นแต่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่มิให้นำมาหักออกจากภาษีขายตามมาตรา 82/5 ก็ไม่มีสิทธินำมาหักได้ ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสิ่งของมาแถมนั้นเมื่อเวลาแถมสิ่งของดังกล่าวให้ลูกค้านั้น สิ่งของที่ซื้อมาแถมถือเป็น “สินค้า” ตามความหมายของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่ม  ตามมาตรา 77/1 9) แห่งประมวลรัษฎากร และการ “แถม” ถือเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน สินค้า ซึ่งถือเป็นการ “ขาย” สินค้า ตามมาตรา 77/1(8) […]

ปัญหาหลักในการทำบัญชีธุรกิจ

Posted on Leave a comment

ปัญหาหลักในการทำบัญชีธุรกิจ “ถ้าหากทำธุรกิจแล้วต้องทำคนเดียวหรือพนักงานในการทำธุรกิจไม่เพียงพอ ทำให้เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้ง วันนี้เรามาดูปัญหาหลักๆที่พบบ่อยในการทำบัญชีุรกิจดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง” ปัญหาหลักในการทำบัญชีธุรกิจ 1. ปัญหาเรื่องเอกสาร ปัญหาและข้อพกพร่องในการทำเอกสารที่ต้องใช้แนบประกอบกับการลงบันทึกบัญชี เช่น  ไม่มีเอกสารที่ต้องแนบไปด้วย เช่น เอกสารที่ต้องใช้แนบประกอบกับการบันทึกข้อมูลเกิดหายสาบสูญไป  เอกสารไม่ครบ เอกสารไม่สมบูรณ์ เช่น ใบสำคัญค่าใช้จ่ายในบริษัท ไม่มีลายมือชื่อผู้อนุมัติ  เอกสารไม่มีวันเดือนปี ชื่อที่อยู่ที่ชัดเจนหรืออาจจะไม่ได้เขียนเลย 2. ปัญหาเรื่องบุคลากรจัดการบัญชี  พนักงานบัญชีเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อธุรกิจ มีบางบริษัทที่ไม่ให้ความสำคัญกับงานทำบัญชี อาจจะคิดว่าจ้างใครมาทำก็ได้ แต่การคิดเช่นนี้มักจะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมาย เช่น การว่าจ้างพนักงานที่ไม่มีความสามารถ, ความรู้ทางบัญชีไม่พอ, ขาดความรับผิดชอบ, ประสบการณ์ในการทำบัญชี ส่วนการจ้างนักบัญชีที่เก่งและมีความสามารถเงินเดือนค่อนข้างจะสูงจริงแต่เมื่อเทียบกับปัญหาต่างๆที่จะต้องตามแก้นั้น จ้างนักบัญชีที่มีประสบการณ์ถือว่าคุ้มกว่า การจ้างพนักงานที่ไม่ได้มาตรฐานจะมีปัญหาต่างๆจะตามมาอย่างไรบ้าง เราจะมายกตัวอย่างให้ดูกัน ดังนี้  การบันทึกหรือลงข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง  การคำนวณตัวเลขผิดพลาด  การบันทึกข้อมูลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง  การแยกประเภทสมุดบัญชีไม่ถูกต้อง  การทำงานที่ล่าช้า  การปกปิดความผิดพลาดของตัวเอง เช่น ผิดแล้วไม่รายงาน ไม่แก้ไข 3. การลงบันทึกข้อมูลผิดที่หรือผิดช่องผิดฝั่ง การลงข้อมูล รายการ หรือตัวเลขผิดช่องนั้น จะสร้างความเสียหายและกระทบไปยังข้อมูลอื่นๆต่อธุรกิจอย่างมากมาย ซึ่งเมื่อผิดตั้งแต่ต้นแล้วต่อๆไปก็จะผิดเพี้ยนไปหมด และเป็นการแก้ไขย้อนหลังจะเกิดความยุ่งยากเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามการทำบัญชีสำคัญมากๆต่อธุรกิจ เพราะสามารถวางแผนการจัดงบในด้านต่างๆในการดำเนินธุรกิจ สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบในแต่ละปีว่าแตกต่างกันเพียงใด […]

จองชื่อบริษัทได้แล้ว จะต้องจดทะเบียนภายในกี่วัน❓

Posted on Leave a comment

ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสำหรับผู้ประกอบการหลาย ๆ คนมองมักว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากลำบาก เพราะต้องมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและต้องเตรียมเอกสารมากมาย แต่ปัจจุบันกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการพัฒนาระบบการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ผ่านทาง www.dbd.go.th เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ สามารถดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ดังนั้น มาดูกันว่าหากผู้ประกอบการจะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทด้วยตนเองต้องทำอย่างไรบ้าง 1. จองชื่อบริษัท สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการ คือ จองชื่อบริษัท ด้วยการเข้าไปยื่นจองชื่อนิติบุคคลผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th คลิกที่เมนู จองชื่อนิติบุคคล ซึ่งชื่อที่จะใช้นั้นต้องไม่ซ้ำ หรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปแล้ว โดยจะทำการจองได้ครั้งละ 1 ชื่อเท่านั้น จากนั้นให้ดำเนินการจองชื่อและนายทะเบียนจะทำการตรวจสอบ เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 30 วัน ไม่เช่นนั้นต้องทำการจองชื่อใหม่ 2. จัดเตรียมข้อมูลให้พร้อม ในการจดทะเบียนบริษัท ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเตรียมข้อมูลสำหรับจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและการจดจัดตั้งบริษัท ซึ่งหนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่แสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท มีไว้เพื่อระบุขอบเขตต่าง ๆ ของธุรกิจ โดยผู้ประกอบการสามารถจดทะเบียนบริษัทและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิไปในคราวเดียวกันได้ แต่จะต้องมีการเตรียมข้อมูลให้พร้อมเพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว สำหรับข้อมูลที่ต้องเตรียมไว้ให้พร้อมมีดังนี้ – ชื่อบริษัทตามที่ได้จองไว้ – รายละเอียดที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หากไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่เอง ต้องมีหนังสือยินยอมให้ใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ – วัตถุประสงค์ของบริษัทต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม – ทุนจดทะเบียน เป็นการจำกัดความรับผิดชอบความเสียหายที่บริษัทอาจก่อขึ้น ส่วนใหญ่นิยมจดกันที่ […]

วัตถุประสงค์กับการจดทะเบียนบริษัท

Posted on Leave a comment

วัตถุประสงค์กับการจดทะเบียนบริษัท   “ไม่ว่าคุณจะดำเนินธุรกิจประเภทไหนก็ตาม สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญนั้นไม่ได้มีผลกำไรของธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายๆ อย่างที่ต้องให้ความสำคัญไม่แพ้ผลกำไร หรือผลประกอบการของบริษัท ไม่ว่จะเป็น ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค ความรับผิดชอบต่อสังคม ความรับผิตชอบต่อพนักงาน เป็นต้น” และสิ่งที่จะห่ให้คุณสามารถชี้แจงต่อเจ้าหน้าที่ในวันที่มีความประสงค์ขอยื่น จดทะเบียนบริษัท ได้ว่าธุรกิจของคุณนั้นเป็นธุรกิจประเภทไหน ให้บริการอย่างไร ก็คือ วัตถุประสงค์ของบริษัทและหากคุณคิดไม่ออกว่า การเขียนวัตถุประสงค์บริษัทมีความสำคัญอย่างไรต่อการจดทะเบียนบริษัท เราได้รวมหลักเกณฑ์การกำหนดและเขียนวัตถุประสงค์บริษัทมาให้เจ้าของธุรกิจที่บทความนี้แล้ว กำหนดวัตถุประสงค์บริษัท อย่างไรให้เหมาะสม? ก่อนจะเริ่มต้นเขียนวัตถุประสงค์ธุรกิจ คุณจะต้องทำการกำหนตวัตถุประสงค์ของธุรกิจที่คุณดำเนินการอยู่ให้ชัตเจนก่อนและการกำหนดวัตถุประสงค์บริษัท สามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ 1. กำหนดวัตถุประสงค์แบบกว้าง คนทำธุรกิจหลายคนมักจะนิยมกำหนตวัตถุประสงค์แบบกว้างๆ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจ โดยที่เจ้าของธุรกิจไม่ต้องวุ่นวายและเสียเวลาจดทะเบียนเพิ่มเติม แต่ถึงแม้ว่าการกำหนตวัตถุประสงค์แบบกว้างๆ จะช่วยให้เจ้าของธุรกิจตำเนินการธุรกิจได้คล่องตัวมากแค่ไหน แต่ก็มีข้อเสียเช่นกันเพราะว่าการกำหนดวัตถุประสงค์บริษัทหรือธุรกิจแบบกว้างเปิดโอกาสให้ผู้บริหารสามารถทำธุรกรรมหรือทำการคได้กว้างมากจนเกินไป หลายๆ ครั้งอาจจะทำให้ผู้บริหารตัดสินใจทำธุรกิจที่ไม่ถนัดและอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทและธุรกิจได้ในอนาคต 2. กำหนดวัตถุประสงค์แบบจำกัด การกำหนดวัตถุประสงค์แบบจำกัด หรือ กำหนดวัตถุประสงค์เท่าที่จำเป็นและต่ำเนินการธุรกิจที่ถนัตจริงๆ เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ว่าจะต่ำเนินการธุรกิจในรูปแบบที่มั่นใจว่าทำได้และมีความถนัดจริงๆ เท่านั้น แต่หากคุณกำหนตวัตถุประสงค์บริษัทแบบจำกัด และอยากจะประกอบธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติมก็สามารถทำได้ โดยการยื่นขอจดทะเบียนเพิ่มเติมได้ เขียนวัตถุประสงค์บริษัทอย่างไรให้ครอบคลุมที่สุด สำหรับการเขียนวัตถุประสงค์สำหรับธุรกิจหรือบริษัทนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้ามีแบบสำเร็จไห่โหลดไปใช้ได้ทั้งหมด 5 แบบตามประเภทของธุรกิจ ได้แก่ […]