บุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?

Posted on

บุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?

“เคยสงสัยกันไหมว่า ชาวต่างชาติที่มาใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศเรา ทั้งเป็นนักท่องเที่ยวชั่วคราว ท่องเที่ยวแรมปี แม้กระทั่งชาวต่างชาติที่ตัดสินใจอยู่ที่ประเทศไทยเลย เขาจะเสียภาษีกันบ้างไหม หรือ ไม่ได้เป็นประชากรประเทศเราเลยไม่ต้องจ่าย วันนี้เราหยิบประเด็นนี้มาตอบกันเลยดีกว่า ” 

ประเด็นแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า ภายในประเทศมีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้หลักแหล่ง เงินได้และหลักถิ่นที่อยู่ ตามมาตรา 41 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งสรุปได้ดังนี้ หลักแหล่งเงินได้มาจาก 4 แหล่งใหญ่ คือ

1. เงินได้จากงานที่ทําในประเทศไทย

2. เงินได้จากกิจการที่ทําในประเทศไทย

3. เงินได้จากกิจการนายจ้างในไทย

4. เงินได้จากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

แล้วบุคคลที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยไม่ถึง180 วัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่?

หากชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในเมืองไทยไม่ถึง 180 วันในปีภาษีนั้น ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้าหากกรณีนี้เป็นเรื่องของเงินได้ที่เกิดขึ้นจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ เช่น ค่าเช่า บ้าน เป็นต้น ดังนั้น บุคคลใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติหากมีเงินได้จากแหล่งเงินได้ ผู้มีเงินได้นั้นต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย ไม่ว่าเงินได้นั้นจะจ่ายใน หรือนอกประเทศ และจะได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม กฎหมายบังคับให้จัดเก็บภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาสําหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นนั้น

เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อครบเงื่อนไข 3 ข้อ

1.ผู้มีเงินได้มีเงินได้จากงานที่ทําในต่างประเทศหรือจากกิจการที่ทําในต่างประเทศหรือจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ
2.ได้นําเงินได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้น
3.ผู้มีเงินได้นั้นอยู่อาศัยในประเทศไทยถึง 180 วัน

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *