จดจัดตั้งทะเบียนบริษัท ฉบับเข้าใจง่าย

Posted on

ปัจจุบันนี้หลายคนหันมาเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งธุรกิจนั้นอาจเป็นธุรกิจเล็กๆ ในครอบครัว หรือ แม้แต่ธุรกิจที่ขยายจนกลายมาเป็นบริษัท แต่เมื่อเปิดบริษัทของตัวเองแล้ว “การจดจัดตั้งบริษัท” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่เลี่ยงไม่ได้ 

 

7 ขั้นตอน จดทะเบียนบริษัท ฉบับเข้าใจง่าย เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนและกระบวนการในการจดทะเบียนบริษัท

1. ตั้งชื่อบริษัทที่ต้องการใช้ในการจดทะเบียน

ก่อนจะทำการจดทะเบียนบริษัท ต้องมีชื่อบริษัทขึ้นมาก่อนโดยชื่อเหล่านี้ต้องไม่ซ้ำหรือคล้ายกับบริษัทอื่นๆ ที่จดทะเบียนไปแล้ว

โดยการคิดชื่อเพื่อใช้ในการจดทะเบียนนั้นเราสามารถยื่นจองได้สูงสุดถึง 3 ชื่อ และจะได้รับการพิจารณาจากชื่อแรก หากชื่อแรกซ้ำหรือไม่ผ่านเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

นายทะเบียนก็จะพิจารณาชื่อในลำดับถัดไปแทน

       ส่วนการยื่นจองชื่อเพื่อจดทะเบียนบริษัท สามารถทำได้ 2 แบบ คือ

  • ยื่นด้วยตนเองต่อนายทะเบียน ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตที่เราอาศัยอยู่ หรือหากเราอยู่ต่างจังหวัด ก็สามารถยื่นได้ที่สำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัด
  • จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยกรอกข้อมูลที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th

2. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและยื่นต่อนายทะเบียน

หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่มีขึ้นเพื่อใช้สำหรับแสดงความต้องการในการจัดตั้งบริษัท ต้องมีการระบุที่อยู่ วัตถุประสงค์ จำนวนหุ้น และข้อมูลของผู้ก่อตั้งอย่างน้อย 3 คน

รวมถึงขึ้นต้นว่าบริษัทและลงท้ายด้วยคำว่าจำกัด ซึ่งในการยื่นหนังสือหนังสือบริคณห์สนธินั้น ต้องยื่นภายใน 30 วันนับตั้งแต่นายทะเบียนแจ้งผลการรับรองชื่อบริษัท

3. จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้งเท่านั้น โดยทุกคนต้องถือคนละ 1 หุ้นหรือมากกว่า จากนั้นเมื่อทำการขายหุ้นบริษัทจนครบแล้ว จะต้องออกหนังสือเพื่อทำการนัดประชุมผู้ถือหุ้น

โดยกำหนดการประชุมจะจัดหลังออกหนังสืออย่างน้อย 7 วัน

4. การจัดประชุมเพื่อจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท

ในวาระการประชุมควรประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ การตั้งระเบียบข้อบังคับของบริษัท การเลือกตั้งคณะกรรมการบริษัท และอำนาจของคณะกรรมการ การเลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เพื่อทำการตรวจสอบและรับรองงบการเงิน ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีที่คัดเลือกมารับหน้าที่จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น

การรับรองสัญญาที่ผู้ก่อตั้งทำขึ้นก่อนการจดทะเบียนบริษัท กำหนดค่าตอบแทนแก่ผู้ริเริ่มกิจการหรือผู้ก่อตั้ง ไปจนถึงการกำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิ

5. เลือกคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ

ในวาระการประชุมควรเลือกคณะกรรมการเพื่อมาทำหน้าที่แทนผู้ก่อตั้งและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในนามบริษัท ด้วยการทำหน้าที่เก็บเงินชำระค่าหุ้นอย่างน้อย 25% ของราคาจริง

จากนั้นเมื่อเก็บค่าหุ้นครบแล้ว ก็จะทำการขอจดทะเบียนบริษัท โดยต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่มีการประชุม แต่ถ้าหากเกิดความล่าช้าและไม่เป็นไปตามระยะเวลา

ดังกล่าว จะถือว่าการประชุมเป็นโมฆะและต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่อีกครั้ง

6. ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท

  • ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ จะดำเนินการจากการคิดจากเงินทุนจำนวนแสนละ 50 บาท โดยไม่ว่าจะมีเศษเกินมากี่บาทก็ให้คิดเป็นจำนวนเต็มแสนเท่านั้น ซึ่งการชำระค่าธรรมเนียมเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนบริษัท คิดตามทุนการจดทะเบียนแสนละ 500 บาทเช่นกัน แต่ขั้นต่ำในการชำระต้องไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และสูงสุดไม่เกิน 250,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
  • ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
  • ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

7. รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท

มาถึงขั้นตอนสุดท้าย เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัทและมอบหนังสือรับรองแล้ว ก็ถือว่าบริษัได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ

โดยสมบูรณ์ตามที่บริษัทพึงมีทุกประการ

เพียงแค่รู้ขั้นตอนก็ทำให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนบริษัทตามลำดับได้อย่างถูกต้อง แต่หากต้องการความสะดวกและประหยัดเวลา

การใช้บริการรับจดทะเบียนบริษัทจากผู้มีประสบการณ์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ต้องการจดทะเบียนบริษัทค่ะ

 

รับจดทะเบียนบริษัท , รับทำบัญชี , รับขอใบอนุญาต , รับยื่นภาษี , จดทะเบียนบริษัท ราคาประหยัด , จดทะเบียนบริษัท ทั่วไทยรับจดทะเบียนบริษัท,รับทำบัญชี,รับจดทะเบียนบริษัท ราคาถูก,รับจดทะเบียนบริษัท ทั่วไทย,รับจดทะเบียน ออนไลน์,รับจดทะเบียนบริษัท ต่างชาติ,รับจดทะเบียนบริษัท ด่วน,รับจดทะเบียนบริษัท ร้านค้า,รับจดทะเบียนบริษัท คนเดียว , รับจดทะเบียนบริษัท ที่ไหน , รับจดทะเบียนบริษัท ช่วงโควิด-19 , รับจดทะเบียนบริษัท ท่องเที่ยว , รับจดทะเบียนบริษัท ก่อสร้าง , จดทะเบียนบริษัท ที่ไหนดี , จดทะเบียนบริษัท ทำอย่างไร

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *